นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกรมปศุสัตว์
Privacy Policy of Department of Livestock Development
กรมปศุสัตว์ ได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน (Personal Information) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซต์ของ กรมปศุสัตว์ ดังนี้
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. เพื่อความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของ กรมปศุสัตว์ ทางเว็บไซต์จึงได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ เช่น อีเมล์แอดเดรส (Email Address) ชื่อ (Name) ที่อยู่หรือที่ทำงาน (Home or Work Address) เขตไปรษณีย์ (ZIP Code) หรือหมายเลขโทรศัพท์ (Telephone Number) เป็นต้น
2. ในกรณีที่ท่านสมัคร (Sign Up) เพื่อสมัครสมาชิกหรือเพื่อใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง กรมปศุสัตว์ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพิ่มเติม ได้แก่ เพศ (Sex) อายุ (Gender) สิ่งที่โปรดปราน/ความชอบ(Preferences/Favorites) ความสนใจ (Interests) หรือหมายเลขบัตรเครดิต (Credit Card Number) และที่อยู่ ในการแจ้งค่าใช้จ่าย (Billing Address)
3. นอกจากนั้น เพื่อสำรวจความนิยมในการใช้บริการ อันจะเป็นประโยชน์ในการนำสถิติไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการของ กรมปศุสัตว์ จึงจำเป็นต้องจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของท่านบางอย่างเพิ่มเติม ได้แก่ หมายเลขไอพี (IP Address) ชนิดของโปรแกรม ค้นผ่าน (Browser Type) โดเมนเนม (Domain Name) บันทึกหน้าเว็บ (web page) ของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เยี่ยมชม เวลาที่เยี่ยมชมเว็บไซต์(Access Times) และเว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการเข้าถึงก่อนหน้านั้น (Referring Website Addresses)
4. กรมปศุสัตว์ ขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ของเว็บไซต์อื่นที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์นี้ เพื่อจะได้ทราบและเข้าใจว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเก็บรวบรวม ใช้หรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างไร ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ ไม่สามารถรับรองข้อความ หรือรับรองการดำเนินการใดๆ ตามที่ได้มีการประกาศไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ และไม่ขอรับผิดชอบใดๆ หากเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ปฏิบัติการหรือดำเนินการใดๆ ตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ดังกล่าวได้ประกาศไว้
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1. กรมปศุสัตว์ จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพียงเท่าที่จำเป็น เช่น ชื่อ และ ที่อยู่ เพื่อใช้ในการติดต่อให้บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของท่านในกิจการหรือกิจกรรมของ กรมปศุสัตว์ เท่านั้น
2. กรมปศุสัตว์ ขอรับรองว่าจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ กรมปศุสัตว์ ได้เก็บรวบรวมไว้ ไปขายหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอกโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากท่านเท่านั้น
3. ในกรณีที่ กรมปศุสัตว์ ได้ว่าจ้างหน่วยงานอื่นเพื่อให้ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น การจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ การวิเคราะห์เชิงสถิติในกิจการหรือกิจกรรมของ กรมปศุสัตว์ เป็นต้น กรมปศุสัตว์ จะกำหนดให้หน่วยงานที่ได้ว่าจ้างให้ดำเนินการดังกล่าว เก็บรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และกำหนดข้อห้ามมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้นอกเหนือจากกิจกรรมหรือกิจการของ กรมปศุสัตว์
สิทธิในการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นส่วนตัวของท่านๆ มีสิทธิเลือกที่จะให้มีการใช้หรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรืออาจเลือกที่จะไม่รับข้อมูลหรือสื่อทางการตลาดใดๆ จาก กรมปศุสัตว์ ก็ได้ โดยเพียงแต่ท่านกรอกความจำนงดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ กรมปศุสัตว์ ทราบในหน้าเว็บ http://www.dld.go.th
การรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับและความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดระเบียบภายในหน่วยงาน เพื่อกำหนดสิทธิในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลบางอย่างที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดให้มีช่องทางการสื่อสารแบบปลอดภัยสำหรับข้อมูลดังกล่าวด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว เช่น จัดให้มีการใช้ Secure Socket Layer (SSL) protocol เป็นต้น
การใช้คุกกี้ (Cookies)
“คุกกี้” คือ ข้อมูลที่ กรมปศุสัตว์ ส่งไปยังโปรแกรมค้นผ่านเว็บไซต์ (Web browser) ของผู้ใช้บริการ และเมื่อมีการติดตั้งข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบของท่านแล้ว หากมีการใช้ “คุกกี้” ก็จะทำให้เว็บไซต์ กรมปศุสัตว์ สามารถบันทึกหรือจดจำข้อมูลของผู้ใช้บริการไว้ จนกว่าผู้ใช้บริการจะออกจากโปรแกรมค้นผ่านเว็บไซต์ หรือจนกว่าผู้ใช้บริการจะทำการลบ “คุกกี้” นั้นเสีย หรือไม่อนุญาตให้ “คุกกี้” นั้น ทำงานอีกต่อไปหากท่านเลือกใช้ “คุกกี้” แล้ว ท่านจะได้รับความสะดวกสบายในการท่องเว็บไซต์มากขึ้น เพราะ“คุกกี้” จะช่วยจดจำเว็บไซต์ที่ท่านแวะหรือเยี่ยมชม ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ จะนำข้อมูลที่ “คุกกี้” ได้บันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ ไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ หรือในกิจกรรมอื่นของ กรมปศุสัตว์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของ กรมปศุสัตว์ ต่อไป
การปรับปรุงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรมปศุสัตว์ อาจทำการปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิได้แจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ดังนั้น กรมปศุสัตว์ จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้บริการอ่านนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทุกครั้งที่เยี่ยมชม หรือมีการใช้บริการจากเว็บไซต์ของกรมปศุสัตว์
การปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการติดต่อกับกรมปศุสัตว์
ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อติชมใดๆ เกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ กรมปศุสัตว์ ยินดีที่จะตอบข้อสงสัย รับฟังข้อเสนอแนะ และคำติชมทั้งหลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการให้บริการของกรมปศุสัตว์ ต่อไป โดยท่านสามารถติดต่อกับ กรมปศุสัตว์ ตามที่อยู่ที่ปรากฏข้างล่างนี้
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ 69/1 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2653-4444 ต่อ 2331 โทรสาร 0-2653-4925 Email This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Click!!! ที่รูปภาพเพื่ออ่านบทความ
“วินัย” หมายถึง แบบแผนความประพฤติหรือข้อปฏิบัติที่ทุกคนในสังคมต้องถือปฏิบัติให้ถูกต้อง ด้วยความจริงใจและตั้งมั่นในการประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามบทวินัยที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของคนในสังคมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อสังคมและประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานหลักคิดเกี่ยวกับ “วินัย” ในพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ ๓ ประการ คือ
ประการแรก “วินัย” เป็นพื้นฐานรองรับวิชาความรู้ ช่วยให้บุคคลทรงคุณความรู้อยู่ได้ และส่งเสริมให้สามารถนำความรู้มาปฏิบัติการให้เกิดประโยชน์ได้ จึงต้องมีความเข้าใจรักษาระเบียบวินัยนี้ซึ่งจะช่วยนำประเทศชาติสู่ความวัฒนาสถาพร
ประการที่สอง คนที่มีความรู้ ความคิด สติปัญญา จำเป็นจะต้องใช้ “วินัย” บังคับให้ทำความดี ความเจริญ ให้แก่ตน และเผื่อแผ่ความคิดความเจริญนั้น แก่ผู้อื่นพร้อมกันไปด้วย จึงจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่นได้
ประการที่สาม “วินัย” มี ๒ ลักษณะ คือ วินัยที่ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด และวินัยในตนเองหรือวินัยประจำใจที่ทุกคนต้องบัญญัติขึ้นด้วยความคิดของตนเอง จึงจะสามารถนำมาควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองอย่างจริงใจ ก่อให้เกิดความสุข ความเจริญที่แท้จริงและมั่นคง
จากหลักคิดที่ได้รับพระราชทานดังกล่าว จะเห็นว่า “วินัย” เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สังคมและประเทศชาติของเรามีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง ด้วยเหตุนี้ การสร้าง “วินัย” ให้กับคนในสังคม จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำในสังคมทุกระดับ ต้องส่งเสริมให้บุคคลที่อยู่ในปกครองมีวินัยและป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย ดังนี้
๑) รักษาวินัยของตนเองในฐานะผู้นำในสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อยู่ในปกครอง
๒) ปฏิบัติตนต่อผู้ถูกปกครองอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ในปกครองดำรงตนเป็นคนดีมีคุณธรรมของสังคม
๓) เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ในปกครองมีวินัยในตนเอง และป้องกันมิให้ผู้อยู่ในปกครองกระทำผิดวินัย ตลอดจนดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่กระทำผิดวินัยอย่างเคร่งครัด
?กดติดตามข่าวสาร และการให้บริการด้านการปศุสัตว์
ได้ที่ LINE Official Account
“กรมปศุสัตว์”
https://lin.ee/4uZSAjz